กล่องข้อความ: 		7-50100-001-167  		  ชื่อพื้นเมือง	:  ชายผ้าสีดา  ชื่อวิทยาศาสตร์	:  Platycerium holttumii de Jonch. & Hennipman  ชื่อวงศ์	:  POLYPODIACEAE  ชื่อสามัญ	:  -  ประโยชน์	:  ปลูกเป็นไม้ประดับในร่ม-รำไร
บริเวณที่พบ : เรือนเพาะชำแปลงเกษตร
ลักษณะพิเศษของพืช : ไม้ประดับในร่ม
ลักษณะ : เฟิร์นกลุ่มนี้ เจริญเติบโตอยู่บนต้นไม้ แต่ไม่ได้เป็นประเภทกาฝาก (parasite) เพราะอาศัยเกาะอยู่ตามกิ่งตามลำต้นของต้นไม้ รากจะเกาะอยู่เฉพาะที่ผิวหรือเปลือกไม้เท่านั้น แร่ธาตุอาหาร ก็ได้จากเศษเปลือกไม้ผุ หรือใบไม้ที่หล่นทับถมลงมาขนาดกลางถึงขนาดใหญ่
มีทั้งชนิดที่เจริญเติบโตเป็นต้นเดี่ยว และเป็นกลุ่ม ทั้งต้นประกอบด้วยแผ่นใบหนา เจริญซ้อนทับและประสานกันเป็นกลุ่มก้อนหรือเป็นหัวกระเช้า
ทั้งยังมีใบอีกแบบงอกออกมาจากจุกตาบนหัวกระเช้า ในบางชนิดใบงอกออกมาชูตั้งขึ้นบางชนิดเป็นใบห้อยย้อยลงมาหรือใบกึ่งตั้ง
และปลายห้อยลงมา
ต้น : เป็นเหง้าเป็นแท่ง เลื้อยสั้น มีบางชนิดเหง้าแตกเป็นกิ่งสาขา ระบบรากทำหน้าที่ยึดเกาะต้นกับสิ่งที่เกาะอาศัย ใบปกคลุมด้วยขนรูปดาว
ขนทำหน้าปกป้องแสงแดด และรักษาความชื้นไม่ให้ระเหยได้ง่าย รวมถึงยังช่วยดักจับความชื้นในอากาศได้อีกด้วย
ใบ : มี 2 รูปแบบ (dimorphic) คือ
       ใบกาบ (Base frond, shield frond หรือ sterile frond
) ทำหน้าที่ห่อหุ้มระบบราก เพื่อรักษาความชื้นเอาไว้และโอบยึดเกาะที่อยู่อาศัย
บางชนิดใบชูตั้งขึ้น เพื่อทำหน้าที่รองรับน้ำ เศษใบไม้และอินทรีย์วัตถุที่ร่วงหล่นมาจากด้านบน กลุ่มนี้มักเป็นชายผ้าสีดาที่อยู่ในสภาพแวดล้อม
ที่ค่อนข้างแห้ง บางชนิดใบกาบแผ่หุ้มระบบรากจนมิด ซึ่งกลุ่มนี้มักเป็นชนิดที่อยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีความชุ่มชื้นหรือฝนชุก sterile frond
บางแห่งอาจเรีรยกต่างกัน
       ใบชายผ้า หรือใบเขากวาง (fertile frond)
บางชนิดเป็นริ้วห้อยสยายลง บางชนิดตั้งชูขึ้น บางชนิดใบมีขนคลุมหนาแน่น ทำหน้าที่ลดการคายน้ำ
ของใบ ใบชายผ้า หรือ fertile frond ในบางแห่งอาจเรียกต่างกัน
ประโยชน์ : ปลูกเป็นไม้ประดับในร่ม-ร่ำไร

ลักษณะวิสัย

กลับหน้าหลัก
ใบ

 

สรุปลักษณะและข้อมูลพรรณไม้
ชื่อพรรณไม้    ชายผ้าสีดา    รหัสพรรณไม้   7-50100-001-167